การยืดอายุฮีตเตอร์ (using heater),การ บำรุง รักษา Heater ,วิธี ใช้ Heater
การยืดอายุฮีตเตอร์ ฮีตเตอร์ไฟฟ้า ฮีตเตอร์ความร้อน using heater
การยืดอายุฮีตเตอร์
สรุปว่ายืดได้ครับ ฮีตเตอร์ที่ถูกออกแบบมาอย่างเหมาะสม สามารถมีอายุการใช้งานเป็นปี ๆแต่บ่อยครั้งที่เราพบปัญหาอายุการใช้งานของ ฮีตเตอร์ ที่สั้นผิดปกติ ปัญหาอาจเกิดขึ้นจากทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ แต่บางครั้งเราสามารถยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ได้ เพียงปฏบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้
1. ใช้งานตามค่ากำหนดของฮีตเตอร์ เช่น การจ่ายไฟให้ฮีตเตอร์ ควรตรงตามค่าแรงดันไฟที่ระบุไว้
2. หากในชุดฮีตเตอร์ มีเส้นฮีตเตอร์มากกว่า 1 เส้นขึ้นไป ควรตรวจสอบการต่อขั้วไฟหรือการต่อสะพานไฟ ของฮีตเตอร์ให้ถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการต่อสะพานไฟ เช่น เปลี่ยนจากการต่อแบบสตาร์
(Y) เป็นเดลต้า (Δ) อาจส่งผลให้ชุดฮีตเตอร์ทำงานเกินขีดจำกัดของตัวเองได้
3. ดูแลรักษาขั้วไฟของฮีตเตอร์ ให้สะอาดอยู่สม่ำเสมอ และต้องแน่นอยู่เสมอ
4. ฮีตเตอร์แต่ละชนิดมีความแตกต่างในสภาวะการใช้งาน เช่น ฮีตเตอร์บางชนิดควรใช้ในอากาศ หรือบางชนิดควรใช้ในของเหลว เพราะฉะนั้นไม่ควรสลับเปลี่ยนสภาวะการใช้งานของฮีตเตอร์ ควรเลือกใช้ให้ถูกต้อง
5. ต่อเนื่องจากข้อ 4 หากฮีตเตอร์ทำงานอยู่ในสภาวะใด ควรคงสภาพนั้นให้ต่อเนื่องที่สุด เช่น หากใช้งาน
ในอากาศ ต้องมีลมถ่ายเทออกอยู่ตลอดเวลาหรือใช้งานในของเหลวก็ไม่ควรปล่อยให้ของเหลวแห้ง
ขอด เพราะหลักการทำงานของ ฮีตเตอร์ คือ การนำพาความร้อนจากวัตถุหนึ่งไปสู่อีกวัตถุหนึ่ง โดยอาศัยตัวกลาง เช่น น้ำ หรืออากาศ
6. หากมีตัวควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เป็นปกติ
มิฉะนั้นหากตัวควบคุมอุณหภูมิเสีย จะทำให้ฮีตเตอร์ทำงานหนักเกินขีดจำกัด
7. บ่อยครั้งที่ตัวฮีตเตอร์มีคราบสกปรก หรือมีตะกรันเกาะอยู่ ทำให้ความร้อนถ่ายเทออกจากฮีตเตอร์ไม่ดี
เมื่อมีความร้อนสะสมที่จุดนั้น อาจทำให้ตัวฮีตเตอร์เสียหาย เช่น มีรอยร้าว แตกปริ
ส่งผลให้ลวดความร้อนที่อยู่ภายในขาดในที่สุด
8. หากเป็นฮีตเตอร์ที่ตัวฮีตเตอร์ต้องแนบติดกับชิ้นงานหรือใส่ลงไปในช่องชิ้นงานควรเลือกฮีตเตอร์
ให้มีขนาดเหมาะสม และแนบกับชิ้นงานให้ได้มากที่สุด โดยทั่วไปแล้วความร้อนจะถ่ายเทได้ดีที่สุดกับ
ของแข็ง ตามด้วยของเหลวและอากาศ หากมีช่องว่างระหว่างฮีตเตอร์กับชิ้นงานมากเกินไป
จะทำให้ประสิทธิภาพของการถ่ายเทความร้อนลดลง
3. ดูแลรักษาขั้วไฟของฮีตเตอร์ ให้สะอาดอยู่สม่ำเสมอ และต้องแน่นอยู่เสมอ
4. ฮีตเตอร์แต่ละชนิดมีความแตกต่างในสภาวะการใช้งาน เช่น ฮีตเตอร์บางชนิดควรใช้ในอากาศ หรือบางชนิดควรใช้ในของเหลว เพราะฉะนั้นไม่ควรสลับเปลี่ยนสภาวะการใช้งานของฮีตเตอร์ ควรเลือกใช้ให้ถูกต้อง
5. ต่อเนื่องจากข้อ 4 หากฮีตเตอร์ทำงานอยู่ในสภาวะใด ควรคงสภาพนั้นให้ต่อเนื่องที่สุด เช่น หากใช้งาน
ในอากาศ ต้องมีลมถ่ายเทออกอยู่ตลอดเวลาหรือใช้งานในของเหลวก็ไม่ควรปล่อยให้ของเหลวแห้ง
ขอด เพราะหลักการทำงานของ ฮีตเตอร์ คือ การนำพาความร้อนจากวัตถุหนึ่งไปสู่อีกวัตถุหนึ่ง โดยอาศัยตัวกลาง เช่น น้ำ หรืออากาศ
6. หากมีตัวควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เป็นปกติ
มิฉะนั้นหากตัวควบคุมอุณหภูมิเสีย จะทำให้ฮีตเตอร์ทำงานหนักเกินขีดจำกัด
7. บ่อยครั้งที่ตัวฮีตเตอร์มีคราบสกปรก หรือมีตะกรันเกาะอยู่ ทำให้ความร้อนถ่ายเทออกจากฮีตเตอร์ไม่ดี
เมื่อมีความร้อนสะสมที่จุดนั้น อาจทำให้ตัวฮีตเตอร์เสียหาย เช่น มีรอยร้าว แตกปริ
ส่งผลให้ลวดความร้อนที่อยู่ภายในขาดในที่สุด
8. หากเป็นฮีตเตอร์ที่ตัวฮีตเตอร์ต้องแนบติดกับชิ้นงานหรือใส่ลงไปในช่องชิ้นงานควรเลือกฮีตเตอร์
ให้มีขนาดเหมาะสม และแนบกับชิ้นงานให้ได้มากที่สุด โดยทั่วไปแล้วความร้อนจะถ่ายเทได้ดีที่สุดกับ
ของแข็ง ตามด้วยของเหลวและอากาศ หากมีช่องว่างระหว่างฮีตเตอร์กับชิ้นงานมากเกินไป
จะทำให้ประสิทธิภาพของการถ่ายเทความร้อนลดลง
Infoableinter@gmail.comProduct : HeaterWebsite : https://xn--m3cic2akk8ce6h8gf.blogspot.com/Website : https://xn--12ct3a2a0al6hbcv7jcc.blogspot.com/Website : https://infrared-able.blogspot.com/Website : https://heaterable.blogspot.com/78/77 Kubon-Ramintra Tarang Bangkeng BKK 10220 ThailandCell: +66-86-334-3495Home: +66-61-832-5995 >> สั่งซื้อ <<
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น