วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2566

การคำนวณค่าความร้อนฮีตเตอร์ (Calculation of the heating value of the heater),สูตรคํานวณ กระแส ฮีตเตอร์ 220v, การเลือก ขนาด ฮี ต. เตอร์ ,ฮีตเตอร์ความร้อน, ฮีตเตอร์ในบ้าน ,การวัดฮีตเตอร์ ,ฮี ต เตอร์ มีกี่ แบบ ,คํานวณ ขนาดฮีตเตอร์ตู้ปลา, ออกแบบฮีตเตอร์

การคำนวณค่าความร้อนฮีตเตอร์ (Calculation of the heating value of the heater),สูตรคํานวณ กระแส ฮีตเตอร์ 220v, การเลือก ขนาด ฮี ต. เตอร์ ,ฮีตเตอร์ความร้อน, ฮีตเตอร์ในบ้าน ,การวัดฮีตเตอร์ ,ฮี ต เตอร์ มีกี่ แบบ ,คํานวณ ขนาดฮีตเตอร์ตู้ปลา, ออกแบบฮีตเตอร์



การคำนวณค่าปริมาณความร้อนฮีตเตอร์


ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว หมายถึง ปริมาณพลังงานความร้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงสถานะของของแข็งเป็นของเหลว โดยอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง

ความร้อนแฝงจำเพาะของการหลอมเหลว หมายถึง ปริมาณพลังงานความร้อนที่ทำให้สาร
ที่เป็นของแข็งมีมวล 1 กรัม เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว 1 กรัม โดยอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง มีหน่วยเป็นแคลอรีต่อกรัม เช่น ความร้อนแฝงจำเพาะของน้ำแข็ง มีค่าประมาณ 80 แคลอรีต่อกรัม
ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ หมายถึง ปริมาณพลังงานความร้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของของเหลวกลายเป็นไอ โดยอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง

ความร้อนแฝงจำเพาะของการกลายเป็นไอ หมายถึง ปริมาณพลังงานความร้อนที่ทำให้สาร
ที่เป็นของเหลวมวล 1 กรัม เปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สโดยอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ความร้อนแฝงจำเพาะของการกลายเป็นไอของน้ำเดือด มีค่าประมาณ 540 แคลอรีต่อกรัม
ความจุความร้อนจำเพาะ หมายถึง ปริมาณความร้อนที่ทำให้สารมวล 1 กรัม มีอุณหภูมิเปลี่ยนไป 1 °C
ความจุความร้อนจำเพาะของน้ำมีค่าเท่ากับ 1 แคลอรี / กรัม- องศาเซลเซียส (cal/g - °C)

สูตรคำนวณค่าปริมาณความร้อน
Q = mL


Q = ปริมาณความร้อน หน่วย แคลอรี ่
m = มวลของสาร หน่วย กรัม
L
Q = msΔt= ความร้อนแฝงจำเพาะ หน่วย แคลอรี / กรัม



Q = ปริมาณความร้อนที่ใช้ในการลดหรือเพิ่มอุณหภูมิของสารนั้น ๆ หน่วย แคลอรี
m = มวลของสาร หน่วย กรัม
s = ความจุความร้อนจำเพาะของสาร หน่วย แคลอรี / กรัม-องศาเซลเซียส
Δt = อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง


ขั้นตอนการเปลี่ยนสถานะของน้ำแข็งจนกระทั่งกลายเป็นไอน้ำ


การคำนวณค่าความร้อนฮีตเตอร์


ตัวอย่าง
Ex ถ้านักเรียนต้องการทำให้น้ำแข็งมวล 10 กรัม เกิดการหลอมเหลวกลายเป็นของเหลวได้หมดพอดี จะต้องใช้ปริมาณความร้อนเท่าใด
วิธีทำ m = 10 กรัม L = 80 แคลอรี/กรัม Q = ?


สูตร Q = mL
= 10 × 80 = 800 แคลอรี


ดังนั้น น้ำแข็งต้องใช้ปริมาณความร้อนในการหลอมเหลวเท่ากับ 800 แคลอรี
ความร้อนแฝงจำเพาะของการหลอมเหลวของสารชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่น้ำ จำเป็นหรือไม่ว่าจะต้องมีค่าเท่ากับ 80 แคลอรีต่อกรัม (ไม่จำเป็น)


Ex ถ้านักเรียนต้องการทำให้น้ำมวล 10 กรัม มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 °C จะต้องใช้ปริมาณความร้อนเท่าใด
สูตร Q = ms Δt
= 10 × 1 × 1
= 10 แคลอรี
ดังนั้น จะต้องใช้ปริมาณความร้อนเท่ากับ 10 แคลอรี
ความจุความร้อนจำเพาะของสารชนิดอื่นที่ไม่ใช่น้ำ จำเป็นหรือไม่ว่าจะต้องมีค่าเท่ากับ 1 cal/g- °C (ไม่จำเป็น) การคำนวณค่าปริมาณความร้อนนี้สามารถประยุกต์ในการหาค่าความร้อนฮีตเตอร์ได้


คำนวณค่าไฟฮีตเตอร์

การคำนวณค่าไฟฟ้าของฮีตเตอร์ความร้อน ทำได้โดยคำนวณจากกำลังไฟฟ้าของเครื่อง (ดูได้จากเนมเพลตข้างเครื่อง หรือตัวตอก) 

1. ตัวอย่าง สมมติฮีตเตอร์กินไฟ 2000 วัตต์ ใช้งานจริงที่เวลา 8 ชม.การทำงาน (กรณีไม่มีตัวตัดต่อความร้อน)

สูตรการคำนวนจำนวนหน่วยการใช้งานไฟฟ้า

หน่วยการใช้ไฟฟ้า จะปรากฎอยู่ในมิเตอร์ไฟฟ้าในแต่ละบ้าน ซึ่งตัวมิเตอร์ไฟฟ้าจะหมุนทำงานเมื่อมีการใช้งานไฟฟ้า ซึ่งจำนวนหน่วยจะมีวิธีคำนวนจาก กำลังไฟ และระยะเวลาที่ใช้งาน ซึ่งสูตรคำนวนจะมีดังนี้

กำลังใช้ไฟฟ้า (W) X จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า (คิดแยกตามชนิด) / 1000 X จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = หน่วยต่อวัน (Unit)


ตัวอย่างการคำนวนหน่วยการใช้งานไฟฟ้า (คิดต่อหน่วย)

จากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับการยกตัวอย่างทางด้านบน เราจะคำนวนออกมาได้ค่าดังนี้

ฮีตเตอร์: (2000 x 1 / 1000) x 8 = 16 หน่วยต่อวัน (เดือนละ 480 หน่วย)


ดังนั้นจากตัวอย่างจะใช้ไฟฟ้าประมาณเดือนละ 480  หน่วย


วิธีการคำนวนค่าไฟฟ้า

จากตัวอย่างฮีตเตอร์นี้จะใช้ไฟฟ้าประมาณเดือนละ 480  หน่วย ซึ่งวิธีการคำนวนการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวงจะเป็นอัตราก้าวหน้า โดยอัตราจะมีดังนี้ (อ้างอิงจากประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย) 

150 หน่วย แรก (หน่วยที่ 1 – 150) หน่วยละ 3.2484 บาท
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400) หน่วยละ 4.2218 บาท
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) หน่วยละ 4.4217 บาท


รวมเป็นเงิน 487.26 + 1,055.45 + 353.73 = 1,896.44 บาท (ก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม)


ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม ,ฮีตเตอร์

โพสต์แนะนำ

สินค้าฮีตเตอร์ยอดนิยม Popular heater products

สินค้าฮีตเตอร์ยอดนิยม Popular heater products สินค้าฮีตเตอร์ยอดนิยม เตาเผาเซรามิก เตาเผาเครื่องปั้นดินเผา เตาเผาเซรามิกขนาดใหญ่ เตาเผาเซรามิ...

คลังบทความของบล็อก ,ฮีตเตอร์

http://heaterable.blogspot.com/ 2013-05-16T07:27:00+00:00 monthly http://heaterable.blogspot.com/2013/03/heater-for-industry.html 2013-05-16T07:27:00+00:00 monthly http://heaterable.blogspot.com/2013_03_01_archive.html 2013-05-16T07:27:00+00:00 monthly http://heaterable.blogspot.com/feeds/7988870761352713826/comments/default 2013-03-22T13:42:07+00:00 monthly