วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2566

ฮีตเตอร์หลอดแก้ว (quartz heater) ,หลอด ฮี ต เตอร์ 220V, หลอดฮีตเตอร์ อินฟราเรด ราคา ,ฮี ต เตอร์ ไทเทเนียม, หลอดฮีตเตอร์ เตาอบ


Acid quartz heater ทำไมแก้วถึงทนกรดได้? ฮีตเตอร์หลอดแก้ว ฮีตเตอร์แท่งแก้ว ฮีตเตอร์ต้มน้ำแบบจุ่ม quartz heater 

แบ่งคำตอบเป็น 2 ส่วนหลักๆ
1. เพราะแก้วมีโครงหลักเป็น Silicate หรือ ซิลิกอนจับกับออกซิเจน 4 ตัวด้วยพันธะโควาเลนท์
2. เพราะพันธะโควาเลนท์ระหว่างซิลิกอนกับออกซิเจนนั้นเสถียรมากๆ



ฮีตเตอร์หลอดแก้วฮีตเตอร์หลอดแก้ว



และแก้วไม่ทนเบสครับ แต่ส่วนที่ทนเบสก็มี โดยเฉพาะเบสออกซิเจนแรงๆเช่นโซดาไฟเข้มข้น

1. พันธะแต่ละชนิดนั้นมีลักษณะการเกิดปฏิกิริยาไม่เหมือนกัน
เช่น พันธะโลหะนั้น โดยเนื้อแท้แล้วเป็นเหมือน"ทะเล"ของอิเล็กตรอน ซึ่งทำหน้าที่ยึดโครงสร้างไว้ได้ก็จริง แต่ก็อนุญาตให้อิเล็กตรอนเคลื่อนไปมาได้อย่างเสรีทั่วทั้งก้อนของโลหะ
ดังนั้นพอมีตัวรับอิเล็กตรอนที่ดี เช่น H+ ในกรดเข้ามา โลหะที่ชอบจ่ายอิเล็กตรอน(เช่นพวกหมู่1) ก็จะสามารถจ่ายอิเล็กตรอนไปทำปฏิกิริยาได้โดยสะดวก
อันนี้ต่างกับพันธะโควาเลนท์ที่มีธรรมชาติคือการ"ตรึง"อิเล็กตรอนให้อยู่ในพันธะระหว่างอะตอมสองอะตอม อิเล็กตรอนจึงไม่สามารถกระโดดไปมาได้ตามใจชอบ ไม่สามารถเอาไปทำปฏิกิริยากับ H+ เฉยๆได้โดยง่าย

ส่วนเรื่องหินก็ต้องถามว่าหินชนิดไหน เพราะมีหลายชนิดมาก บางชนิดถ้าเกิดจากแร่ที่ทนกรดก็อาจจะไม่ทำปฏิกิริยาก็ได้
ถ้าพูดถึงหินพวกหินปูน จุดที่มันทำปฏิกิริยาคือตัวคาร์บอเนตในแคลเซียมคาร์บอเนต
แคลเซียมคาร์บอเนตนั้นยึดกันด้วยพันธะไอออนิกซึ่งมีธรรมชาติคือแรงระหว่างประจุบวกกับประจุลบ
ดังนั้นการสลับตัวประจุบวกจึงเกิดขึ้นได้ง่าย เช่น พอเจอH+ ในกรด ก็จะมีการแลกเปลี่ยนระหว่างแคลเซี่ยม Ca2+ กับไฮโดรเจนของกรด เกิดเป็นกรดคาร์บอนิก H2CO3
ซึ่งเจ้ากรดคาร์บอนิกนี้ไม่เสถียรและสลายตัวให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ
ซึ่งจะอธิบายต่อไปเพราะมันเกี่ยวกับพลังงานพันธะโควาเลนท์

2. พันธะโควาเลนท์แต่ละแบบเองก็มีความแข็งแรงไม่เท่ากัน
ถ้ามองพลังงานพันธะของซิลิกอนกับธาตุอื่นๆละก็จะพบว่าพลังงานพันธะของซิลิกอนออกซิเจนนั้นเยอะเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากซิลิกอน-ฟลูออรีน
(Si-O: 452 kJ/mol, Si-F: 565 kJ/mol)
ซึ่งถ้าเอาไปเทียบกับพันธะอื่นๆแล้วจัดว่าสูงมากๆ
ดังนั้น การจะสลายพันธะ Si-O เพื่อไปสร้างพันธะอื่นนั้นจึงทำได้ยากมากในเชิงเทอร์โมไดนามิกเพราะผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นส่วนมากจะมีความเสถียรน้อยกว่าสารตั้งต้นทั้งสิ้น
ทั้งนี้ ด้วยสาเหตุเดียวกัน ถ้าใช้กรดไฮโดรฟลูออริก (HF) ทำปฏิกิริยากับแก้ว ซิลิกอนในแก้วที่ชอบทำพันธะซิลิกอน-ฟลูออรีนอันแข็งแรงก็จะทำปฏิกิริยากับกรดและย้ายมาจับกับฟลูออรีนแทน

ด้วยสาเหตุคล้ายๆกัน กรดคาร์บอนิก ซึ่งมีพันธะเดี่ยวระหว่าง C-O ถึงสองพันธะ ซึ่ง C ชอบทำพันธะคู่กับ O มากกว่า เนื่องจากพลังงานพันธะคู่ C=O 1 พันธะมีค่ามากกว่าพลังงานพันธะเดี่ยว C-O 2 พันธะรวมกัน ปฏิกิริยานี้จึงเกิดขึ้นได้ง่าย
นอกจากนี้ปฏิกิริยานี้ยังทำให้เกิดก๊าซ CO2 ซึ่งในทางจลศาสตร์แล้ว ปฏิกิริยาจะมีสมดุลมาทางฝั่งที่เกิดก๊าซมากกว่า

ด้วยเหตุนี้ฮีตเตอร์ที่เป็นหลอดแก้ว จึงสามารถทนกรดได้ครับ ฮีตเตอร์หลอดแก้ว ฮีตเตอร์แท่งแก้ว ฮีตเตอร์ต้มน้ำแบบจุ่ม quartz heater 

ฮีตเตอร์หลอดแก้วราคา
1.ยาว 50 ซม, Dia 50 mm (pvc cover) Heat zone 30 ซม สายยาว 2 เมตร 220 โวลต์ 1000 วัตต์ 2 สาย
จำนวน 1-4 ราคาตัวละ 2200 บาท
จำนวน 5-8 ราคาตัวละ 2000 บาท
ตั้งแต่ 10 ราคาตัวละ 1900 บาท

2.ยาว 80 ซม, Dia 50 mm (pvc cover) Heat zone 50 ซม สายยาว 2 เมตร 220 โวลต์ 3000 วัตต์ 2 สาย
จำนวน 1-4 ราคาตัวละ 2200 บาท
จำนวน 5-8 ราคาตัวละ 2000 บาท
ตั้งแต่ 10 ราคาตัวละ 1900 บาท





ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม ,ฮีตเตอร์

โพสต์แนะนำ

ตู้ฟักไข่ (incubators egg)

ตู้ฟักไข่ เครื่องฟักไข่ incubators-egg  ตู้ฟักไข่ราคา ตู้ฟักไข่ทําเองไม่ถึง200บาท ตู้ฟักไข่ทําเอง600 ตู้ฟักไข่12ฟอง ตู้ฟักไข่มือสองราคาถูก ต...

คลังบทความของบล็อก ,ฮีตเตอร์

http://heaterable.blogspot.com/ 2013-05-16T07:27:00+00:00 monthly http://heaterable.blogspot.com/2013/03/heater-for-industry.html 2013-05-16T07:27:00+00:00 monthly http://heaterable.blogspot.com/2013_03_01_archive.html 2013-05-16T07:27:00+00:00 monthly http://heaterable.blogspot.com/feeds/7988870761352713826/comments/default 2013-03-22T13:42:07+00:00 monthly